คำนิยามต่างๆที่ใช้ในงานทำระดับมีอะไรบ้างที่ผู้ใช้งานควรรู้?

Last updated: 13 ธ.ค. 2566  |  752 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คำนิยามต่างๆที่ใช้ในงานทำระดับมีอะไรบ้างที่ผู้ใช้งานควรรู้?

งานทำระดับ คือ ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบในการทำสำรวจและบันทึกข้อมูลด้วยกล้อง เพื่อวิเคราะห์และสำรวจพื้นที่่ต่างๆ เช่น พื้นที่เมือง พื้นที่ป่า หรือที่ดิน ดังนั้นมาเรียนรู้คำนิยามที่ใช้ในการทำระดับ มีดังนี้

1. พื้นระดับ (Level Surface)
เป็นพื้นระดับที่โค้งขนานไปกับผิวทรงกลมของโลกอาจจะเป็นพื้นจริงหรือระดับสมมติก็ได้ พื้นระดับใช้ในการอ้างอิงค่าระดับของจุดต่างๆ

2. ค่าระดับ (Elevation)
ค่าระดับของจุดที่ผิวโลก เป็นค่าที่นับในแนวดิ่งที่อยู่บนพื้นหรืออยู่ใต้พื้นระดับหรือโค้งของพื้นระดับซึ่งทุกๆจุดบนพื้นระดับจะตั้งกับแนวดิ่ง

3. เส้นระดับ (Level Line)
เป็นเส้นระดับที่อยู่ในพื้นระดับ จุดทุกจุดบนเส้นระดับจะมีค่าระดับเท่ากัน เส้นดิ่งจะเป็นเส้นปกติของเส้นระดับ

4. ระนาบดิ่ง (Vertical Plane)
เป็นระนาบที่บรรจุแนวดิ่งที่อยู่ในระนาบเดียวกัน

5. เส้นพื้นฐานการระดับ (Datum Line)
เป็นแนวเส้นที่อยู่ในพื้นหลักฐานการระดับ ถ้าเป็นระนาบของพื้นฐานการระดับ เรียกว่า Datum Surface

6. มุมสูง (Vertical Angle)
เป็นง่ามมุมที่เกิดขึ้นระหว่างระนาบราบและระนาบเอียงตัดกันมุมสูงจะนำไปคำนวณค่าระดับ

7. แนวดิ่งหรือเส้นดิ่ง (Vertical Line)
เป็นเส้นดิ่งที่จุดใดๆจะเป็นเส้นปกติของเส้นระดับและจะตั้งฉากกับแนวราบเส้นดิ่งเป็นทิศทางของการดึงดูดของโลก หรือเรียกอีกอย่างว่า Plumb Line
คือ แนวของลูกดิ่ง

8. แนวราบหรือเส้นราบ (Horizontal Line)
เป็นเส้นใดๆที่อยู่ในระนาบ และเป็นเส้นที่สัมผัสกับเส้นระดับ (Level Line) ซึ่งเส้นนี้จะเป็นแนวตรง

9. ระนาบราบ (Horizontal Plane)
เป็นระนาบราบที่สัมผัสกับพื้นระดับและตั้งฉากกับทิศทางของแรงดึงดูดของโลก ซึ่งจะถือว่าเป็นแนวดิ่ง (Plumb Line)

ดังนั้น คำนิยามต่างๆที่ใช้ในงานทำระดับ จะมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อใช้ในการใช้งานในหลายๆด้าน เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้